วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ
เตรียมพร้อมเข้าสู่อาชีพ
|
การเตรียมตัวเพื่อประกอบอาชีพ
คนทุกคนต้องประกอบอาชีพเพื่อการดำรงชีวิต
วัยรุ่นเป็นช่วงเวลาที่ควรเลือกแนวทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคต
บางคนอาจเริ่มแนวทางเพื่อการประกอบอาชีพแล้วเลือกศึกษาเพื่อเตรียมตัวประกอบอาชีพต่อไป
หรือการเลือกอาชีพเป็นเรื่องที่สำคัญและทำให้วัยรุ่นเกิดความสับสนได้
เนื่องจากในเรื่องนี้จะมีผู้ที่เกี่ยวข้องอยู่มาก นับตั้งแต่บุคคลที่ใกล้ชิดที่สุด
และมีอิทธิพลต่อการเลือกอาชีพมากที่สุด คือ พ่อแม่ บุคคลอื่นๆ ภายในครอบครัว
โรงเรียน กลุ่มเพื่อน
เนื่องมาจากเด็กวัยรุ่นไทยยังอยู่ภายใต้ข้อจำกัดของระบบการศึกษา สติปัญญา
ฐานะทางเศรษฐกิจของครอบครัว ความนิยมของท้องถิ่น โรงเรียนและสังคมส่วนร่วม
และวัยรุ่นเองก็ยังไม่ตระหนักชัดในความสนใจ ความถนัด ความต้องการ
และลักษณะบุคลิกภาพของตนเองอย่างแท้จริงในการตัดสินใจเลือกอาชีพวัยรุ่นจะต้องคำนึงถึง
1. ความถนัดส่วนตัว
คนเราแต่ละคนมีความถนัดไม่เหมือนกัน
การได้ทำงานหรือประกอบอาชีพที่ตนถนัดโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานหรืออาชีพนั้นย่อมมีมาก
ตรงข้ามถ้าได้ทำงานที่ตนเองไม่ถนัด
นอกจากจะทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรแล้วยังทำให้ขาดความสุขในการทำงานนั้น ๆ อีกด้วย
ความถนัดส่วนตัว เป็นสิ่งที่วัยรุ่นจะต้องค้นพบในตนเอง
โดยจะต้องพิจารณาอย่างถ่องแท้ ไม่ใช้พิจารณาโดยผิวเผินจากความชอบ
ความสนใจเพียงอย่างเดียว คนบางคนมีความชอบ มีคามสนใจ
แต่อาจจะไม่ได้มีความถนัดก็เป็นได้
ความถนัดจึงเป็นความสามารถในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ดีเป็นพิเศษ เช่น
ความถนัดทางตัวเลข ความถนัดในการพูด การใช้ภาษา
ความถนัดในการแสดงถึงแม้ว่าการทำงานใด ๆ ย่อมต้องอาศัยการฝึกฝน
การมีความรู้เบื้องต้น แต่ความถนัดก็ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการทำงานให้ได้ดี
2. ความสนใจ
ความชอบในอาชีพนั้น ๆ
โดยความเป็นจริงแล้วในวัยรุ่นเรามักจะสนใจและชอบอาชีพที่เด่นและโก้
มากกว่าจะพิจารณาอาชีพต่าง ๆ
ที่เรามีความสามารถหรือแนวโน้มที่จะถนัดในอาชีพนั้นความสนใจ
ความรักในการที่จะประกอบอาชีพนั้น ๆ ก็มีส่วนสำคัญอยู่บ้าง
แต่ถ้าสนใจแล้วไม่ถนัดเลยก็จะไม่สามารถทำให้อาชีพนั้นเจริญก้าวหน้า เช่น
วัยรุ่นหลายคนที่สนใจอาชีพที่เกี่ยวกับเครื่องยนต์กลไก แต่กลับมีความถนัดในการพูด
การใช้ภาษา ไม่ถนัดในด้านการใช้เครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ
ก็ไม่ควรเลือกอาชีพในด้านนี้
เพราะการทำในสิ่งที่ไม่มีความถนัดจะทำให้ประสบความสำเร็จได้ยาก
3. การเลือกอาชีพตามความคาดหวังของพ่อแม่หรือผู้ปกครอง
เด็กวัยรุ่นส่วนใหญ่ต้องเลือกอาชีพตามที่พ่อแม่คาดหวังเพียงเพื่อให้พ่อแม่พอใจ
ซึ่งเป็นเรื่องที่วัยรุ่นจะต้องพิจารณาให้ดี
การเลือกอาชีพโดยตามใจพ่อแม่โดยไม่พิจารณาถึงความพอใจ ความสนใจ ความถนัด
และความสามารถของตนเอง อาจทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ คำแนะนำของพ่อแม่นั้น
เต็มเปี่ยมด้วยความรัก ความปรารถนาดี ประกอบกับความรู้และประสบการณ์ชีวิต
ย่อมเป็นคำแนะนำที่ดี มีประโยชน์ต่อเรา แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย
วัยรุ่นจะต้องมีแผนการเลือกอาชีพที่ตรงกับสภาพความเป็นจริงของตัวเองให้มากที่สุด
เท่าที่จะทำได้โดยจะต้อพิจารณาข้อมูลต่างๆ ให้รอบคอบ
4. การเลือกอาชีพตามเพื่อน
ในช่วงวัยรุ่นเพื่อจะเป็นผู้มีอิทธิพลต่อชีวิตเรามากที่สุด
ดังนั้นจึงมีวัยรุ่นเป็นจำนวนมากที่ตัดสินใจเลือกเรียนเพ่อการประกอบอาชีพตามเพื่อนเพียงเพราะว่า
ต้องการเรียนหรืออยู่ร่วมกลุ่มเดียวกันเพื่อนที่ใกล้ชิด
เพื่อนอาจให้ข้อคิดเห็นต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์
แต่เราจำเป็นต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับตนเองมากที่สุด
5. โอกาสที่จะเข้าทำงานและการแข่งขัน
ในปัจจุบันในการเลือกเรียนอะไรก็ตาม
เราจะต้องคำนึงถึงโอกาสที่จะทำงานด้วย เช่น
อาชีพครูในปัจจุบันจะมีการแข่งขันเพื่อสอบคัดเลือกเข้าทำงาน
โดยมีผู้สมัครจำนวนมากที่ตำแหน่งน้อย โอกาสที่จะเข้าทำงานจึงยาก
ถ้าเราเลือกเรียนเพื่อประกอบอาชีพนี้ก็จะต้องมั่นใจตนเอง ว่ามีระดับสติปัญญา
มีความสามารถสูงกว่าธรรมดา เพื่อจะมีโอกาสที่จะได้มีงานทำ
6. การเลือกอาชีพจำเป็นต้องคำนึงถึงปัญหาในด้านสุขภาพด้วย
คนที่สายตาสั้นไม่ควรเลือกอาชีพที่จะต้องใช้สายตามาก
หรือในการประกอบอาชีพบางอย่างไม่รับคนที่มีปัญหาในทางสายตา เช่น อาชีพ แอร์โฮสเตส
คนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น โรคภูมิแพ้ฝุ่น แพ้ผงละออง
ไม่ควรเลือกอาชีพที่ทำให้ต้องอยู่กับสิ่งที่จะทำให้เกิดแพ้ เช่น อาชีพช่างตัดผม
เสริมสวย ช่างก่อสร้าง เป็นต้น
7. สติปัญญาหรือความสามารถ
การเรียนวิชาชีพขั้นสูงจำเป็นต้องอาศัยสติปัญญา
ซึ่งอาจดูได้จากระดับคะแนนหรือผลการเรียนที่ผ่านมา นอกจากนั้นการสอบได้คะแนนสูงๆ
ในวิชาใดก็พอจะชี้ให้เรารู้ได้ว่ามีแนวน้าที่จะเรียนได้ดี
มีความสามารถสูงในวิชานั้นซึ่งควรนำมาพิจารณาเพื่อการตัดสินใจด้วย
8. ทุนทรัพย์ในการเตรียมตัวเพื่อการประกอบอาชีพนั้นๆ
ถ้าเราต้องการเป็นวิศวกร
เราต้องเรียนวิศวกรรมในระดับมหาวิทยาลัยซึ่งต้องใช้ทุนทรัพย์สูงมาก
ผู้ปกครองมีทุนเพียงพอได้หรือไม่ เราจะสามารถหาทุนได้จากแหล่งใด
9. ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวกับอาชีพที่เลือก โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับลักษณะงาน
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพนั้น แนวโน้มในอนาคต รายได้หรือผลตอบแทน
ข้อจำกัดและความเสี่ยง โอกาสก้าวหน้า วัยรุ่นจะต้องรู้จักนำข้อมูลหลายๆ
ด้านมาเปรียบเทียบแล้วจึงตัดสินใจ
นอกจากนั้นวัยรุ่นควรพิจารณาความรู้สึกของตนเองให้ถ่องแท้
เนื่องจากในช่วงวัยรุ่นความสนใจและความต้องการอาจจะมีลักษณะที่หวือหวา
ไม่มีการไตร่ตรองโดยแท้จริง การเลือกอาชีพนอกจากจะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ
ที่กล่าวมาแล้ว
เรายังพบว่าลักษณะการเลือกอาชีพของวัยรุ่นมักเลือกเพราะอิทธิพลจากสื่อมวลชน
และผู้ปกครอง เพื่อนฝูงอีกด้วย
ที่มา : http://guidance.obec.go.th/?p=1051
แนวทางการพัฒนาตนเอง
แนวทางในการพัฒนาตนเองมีคุณลักษณะ 4 ด้าน ดังนี้
1. การแต่งกาย การเอาใจใส่ดูแลการแต่งกายให้สะอาดเรียบร้อย
ทันสมัย รู้จักเลือกเครื่องแต่งกายให้เหมาะสมกับรูปร่าง สถานที่ เวลา
จะทำให้รู้สึกมั่นใจมากขึ้น และผู้ที่พบก็อย่างคุยด้วย
ผู้ที่แต่งตัวรุ่มร่ามมาเหมาะสมกับกาลเทศะ อาจทำให้ถูกตำหนิหรือวิจารณ์ได้
และท่าทางก็เป็นสิ่งสำคัญควรระมัดระวังตนเองให้มีกิริยามารยาทที่ดี
เดินด้วยท่าทางที่สง่าผ่าเผย และหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส
จะทำให้ผู้อื่นรู้สึกเชื่อถือมากขึ้น
2. ความคิด การเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทำให้มองโลกกว้างขึ้น
รู้สึกมีชีวิตมีคุณค่าไม่น่าเบื่อหน่าย การพัฒนาความคิดทำได้โดย
- ค้นหาความสนใจของตนเองเพื่อให้ทราบว่าชอบศึกษาค้นคว้าเรื่องอะไร
- รวบรวมความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ที่เกี่ยวกับเรื่องที่สนใจให้มากที่สุด
- ติดตามความก้าวหน้าหาความรู้ด้านนั้นๆ ให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ
- หมั่นอ่าน ทบทวนความคิด
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ที่มีความสนใจเรื่องเดียวกัน
3. การควบคุมตนเอง สังคมจะไม่ยอมรับผู้ที่ไม่ควบคุมตนเอง
มีท่าทางฉุนเฉียว ก้าวร้าวเกินควร
ในทางตรงกันข้ามสังคมจะยกย่องนับถือผู้ที่อดกลั้น ควบคุมอารมณ์ตนเองได้
การฝึกควบคุมตนเองต้องพยายามคิดก่อนทำโดยคิดว่าสิ่งที่อยากทำกับสิ่งที่ควรทำเป็นสิ่งเดียวกันหรือไม่
ถ้าสิ่งที่อยากทำเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ ก็ต้องตัดละทิ้งออกไป
การคิดก่อนทำจะทำให้ไม่เสียใจในภายหลัง และได้ทำในสิ่งที่มั่นใจยิ่งขึ้น
4. การผูกมิตร ความสุขอย่างหนึ่งคือ
การได้เป็นมิตรกับผู้อื่น นอกจากจะเป็นเพื่อนไม่ได้ เหงาและว้าเหว่แล้ว
มิตรยังให้ความช่วยเหลือเมื่อเกิดความเดือดร้อน การผูกมิตรมีหลักการ ดังนี้
- เรียงลำดับจากง่ายไปหายาก คือ
ผูกมิตรกับผู้ที่ต้องการคบหาสมาคมกับเรา ถูกนิสัยใจคอกัน และสุดท้ายคือ
บุคคลที่เราต้องการคบหาด้วย
- ควรเข้าใจธรรมชาติของมนุษย์ ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร สิ่งสำคัญคือ
ไม่มีใครชอบบุคคลที่พูดมาก อวดรู้ ดูถูกหรือชอบตำหนิผู้อื่น
ทุกคนตองการให้ผู้อื่นยกย่องชมเชย ชอบให้ผู้อื่นฟังเมื่อตนพูด
และจะสนใจเรื่องราวของตนเองมากกว่าผู้อื่น ทุกคนชอบผู้ที่ยิ้มแย้มแจ่มใส
- ทักทายผู้อื่นเสมอ อย่าลืมกล่าวคำว่า ขอโทษ ขอบคุณ
และให้ความช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความเต็มใจ
รวมทุนเรียนต่อต่างประเทศ
-
E_BOOK
-
โรงเรียนสุรวิทยาคาร (ก) ชื่อวิจัย การพัฒนาชุดการเรียนรู้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความ...